วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การดูแลรักษาคอมพิวเตอร์

การดูแลรักษาคอมพิวเตอร์

---------------------------------------------------

คอมพิวเตอร์เมื่อใช้ไประยะหนึ่งจะมีการเสื่อมชำรุดไปตามสภาพระยะเวลาที่ใช้งานผู้ใช้คอมพิวเตอร์จึงควรเอาใจใส่ดูแลและบำรุงรักษาอย่างเหมาะสม สม่ำเสมอเพื่อเพิ่มอายุ การใช้งานของเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งจะช่วยให้สามารถ ประหยัดงบประมาณในการซ่อมบำรุงหรือการเปลี่ยนอุปกรณ์ สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมที่คอมพิวเตอร์ของคุณจะทำงานได้ดีนั้นคืออย่างไร เช่นในห้องคอมพิวเตอร์ของคุณควรจะมีอุณหภูมิสูงเท่าไรมีความชื้นไม่เกินเท่าไร ขีดจำกัดของการทำงานเป็นอย่างไรระยะเวลาในการทำงานของเครื่องเป็นอย่างไรดังนั้นห้องทำงานด้านคอมพิวเตอร์จึงควรเป็นห้องปรับอากาศที่ปราศจากฝุ่นและความชื้น ซอฟแวร์แผ่นดิสก์ที่เก็บซอฟแวร์และไฟล์ข้อมูล หรือสารสนเทศนั้นอาจเสียหายได้ ถ้าหากว่าแผ่นดิสต์ได้รับการขีดข่วนได้รับความร้อนสูงหรือตกกระทบกระแทกแรงๆ สิ่งที่ทำลายซอฟแวร์ได้แก่ ความร้อน ความชื้น ฝุ่น ควัน และการฉีดสเปรย์พวกน้ำยาหรือน้ำหอม ต่าง ๆ เป็นต้น การทำความสะอาดระบบคอมพิวเตอร์
1.
ไม่ควรทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์ในขณะที่เครื่องยังเปิดอยู่ ถ้าคุณจะทำความ สะอาดเครื่อง ควรปิดเครื่องทิ้งไว้ 5 นาที ก่อนลงมือทำความสะอาด
2. อย่าใช้ผ้าเปียก ผ้าชุ่มน้ำ เช็ดคอมพิวเตอร์อย่างเด็ดขาด ใช้ผ้าแห้งดีกว่า
3. อย่าใช้สบู่ น้ำยาทำความสะอาดใด ๆ กับคอมพิวเตอร์ เพราะจะทำให้ระบบของเครื่อง เกิดความเสียหาย
4. ไม่ควรฉีดสเปรย์ใด ๆ ไปที่คอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์
และอุปกรณ์ต่าง ๆ
5. ไม่ควรใช้เครื่องดูดฝุ่นกับคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ
6. ถ้าคุณจำเป็นต้องทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรดใช้อุปกรณ์ทำความสะอาด ที่คู่มือแนะนำไว้เท่านั้น 7. ไม่ควรดื่มน้ำชา กาแฟ เครื่องดื่มต่าง ๆ ในขณะที่ใช้คอมพิวเตอร์
8. ไม่ควรกินของคบเคี้ยวหรืออาหารใด ๆ ขณะทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์

สาเหตุที่ทำให้เครื่องพีซีเกิดความเสียหาย

ความร้อน
ความร้อนที่เป็นสาเหตุทำให้คอมพิวเตอร์มีปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากความร้อนของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บนเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์เองวิธีแก้ปัญหาคือจะต้องรีบระบายความร้อนที่เกิดจากอุปกรณืต่างๆ ออกไปให้เร็วที่สุด

วิธีแก้ปัญหา
• พัดลมระบายความร้อนทุกตัวในระบบต้องอยู่ในสภาพดี 100 เปอร์เซนต์ อุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดควรจะอยู่ระหว่าง 60-70 องศาฟาเรนไฮต์
• ใช้เพาเวอร์ซัพพลาย ในขนาดที่ถูกต้อง
• ใช้งานเครื่องในย่านอุณหภูมิที่ปลอดภัย อย่าตั้งอยู่ในบริเวณที่มีแสงแดดส่องถึงเป็นเวลานานๆ

ฝุ่นผง
เป็นที่ทราบกันดีว่าในอากาศมีฝุ่นผงกระจัดกระจายอยู่ในทุกๆที่ฝุ่นผงที่เกาะติดอยู่บนแผงวงจรของคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่เสมือนฉนวนป้องกันความร้อน ทำให้ความร้อนที่เกิดขึ้นในระบบไม่สามารถระบายออกสู่สภาพแวดล้อมภายนอกนอกจากนี้อาจไปอุดตันช่องระบายอากาศของเพาเวอร์ซัพพลายหรือฮาร์ดดิสค์หรืออาจเข้าไปอยู่ระหว่างแผ่นดิสค์กับหัวอ่าน ทำให้แผ่นดิสค์หรือหัวอ่านเกิดความเสียหายได้

วิธีแก้ไข
• ควรทำความสะอาดภายในเครื่องทุก 6 เดือน หรือทุกครั้งที่ถอดฝาครอบ
• ตัวถัง หรือ ชิ้นส่วนภายนอกอาจใช้สเปรย์ทำความสะอาด
• วงจรภายในให้ใช้ลมเป่าและใช้แปรงขนอ่อนๆ ปัดฝุ่นออก
• อย่าสูบบุหรี่ใกล้เครื่องคอมพิวเตอร์

สนามแม่เหล็ก
แม่เหล็กสามารถทำให้ข้อมูลในแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก็สูญหายได้อย่างถาวรแหล่งที่ให้กำเนิดสนามแม่เหล็กในสำนักงานมีอยู่มากมาหลายประเภท อาทิเช่น
• แม่เหล็กติดกระดาาบันทึกบนตู้เก็บแฟ้ม
• คลิปแขวนกระดาษแบบแม่เหล็ก
• ไขควงหัวแม่เหล็ก
• ลำโพง
• มอเตอร์ในพรินเตอร์
• UPS

วิธีแก้ไข
• ควรโยกย้ายอุปกรณ์ที่มีกำลังแม่เหล็กมากๆ ให้ห่างจากระบบคอมพิวเตอร์

สัญญาณรบกวนในสายไฟฟ้า
สัญญาณรบกวนในสายไฟฟ้ามีหลายลักษณะ อาทิเช่น
• แรงดันเกิน
• แรงดันตก
• ทรานเชียนต์
• ไฟกระเพื่อม

แรงดันเกิน
ในกรณีที่เครื่องของท่านได้รับแรงดันไฟฟ้าเกินจากปกติเป็นเวลานานกว่า วินาที จะมีผลทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ภายในเครื่องเกิดความเสียหายได้

แรงดันตก
ในกรณีที่มีการใช้ไฟฟ้ากันมากเกินความสามารถในการจ่ายพลังงานไฟฟ้าจะมีผลทำให้เกิดเหตุการณืไฟตกได้ไฟตกอาจทำให้การทำงานของเพาเวอร์ซัพพลายผิดพลาดได้เนื่องจากเพาเวอร์ซัพพลายพยายามจ่ายพลังงานให้กับวงจรอย่างสม่ำเสมอโดยไปเพิ่มกระแส แต่การเพิ่มกระแสทำให้ตัวนำเพาเวอร์ซัพพลายและอุปกรณ์ต่างๆร้อนขึ้น ซึ่งมีผลทำให้อุปกรณ์ต่างๆ เกิดความเสียหายได้

ทรานเชียนต์
ทรานเชียนต์หมายถึง การที่ไฟฟ้ามีแรงดันสุง(sags)หรือต่ำกว่าปกติ(surge)ในช่วงระยะเวลาสั้นๆทรานเชียนต์ที่เกิดในบางครั้งจะมีความถี่สูงมากจนกระทั่งสามารถ เคลื่อนที่ผ่านตัวเก็บประจุไฟฟ้าในเพาเวอร์ซัพพลาย เข้าไปทำความเสียหายให้แก่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้

ไฟกระเพื่อม
ทุกครั้งที่ท่านเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าจะทำให้กำลังไฟเกิดการกระเพื่อมเครื่องใช้ไฟฟ้ที่ต้องการกระแสไฟฟ้ามากๆก็จะทำให้ความแรงของการกระเพื่อมมีค่ามากตามไปด้วย จากการศึกษาพบว่าการเปิดใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละครั้งจะทำให้เกิดการกระเพื่อมภายในเสี้ยววินาทีการกระเพื่อมจะมีผลต่อทุกๆส่วนภายในตัวเครื่อง รวมทั้งหัว อ่านข้อมูลของฮาร์ดดิสค์ด้วย

วิธีแก้ไข
• ในกรณีไฟเกิน ไฟตก และทรานเชียนต์ แก้ไขได้โดยการใช้เครื่องควบคุมกระแสไฟฟ้า หรือ ที่เรียกว่า Stabilizer
• ส่วนไปกระเพื่อม แก้ได้โดยการลดจำนวนครั้งในการปิดเปิดเครื่อง

ไฟฟ้าสถิตย์
ไฟฟ้าสถิตย์สามารถเกิดขึ้นได้ทุกฤดูกาลแต่ในสภาวะที่อากาศแห้งจะส่งผลให้ความเป็นฉนวนไฟฟ้าสูงประจุของไฟฟ้าสถิตย์จะสะสมอยู่เป็นจำนวนมากและหาทางวิ่งผ่านตัวนำไปยังบริเวณที่มีศักย์ไฟฟ้าต่ำกว่าดังนั้นเมื่อท่านไปจับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ประจุของไฟฟ้าสถิตย์จากตัวท่านจะวิ่งไปยังอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านั้นทำให้อุปกรณ์เกิดความเสียหายได้ แต่ในสภาวะที่มีความชื้นสูง ไฟฟ้าสถิตย์ที่เกิดขึ้นจะรั่วไหลหายไปในระยะเวลาอันสั้น

วิธีแก้ไข
• ควรทำการคายประจุไฟฟ้าสถิตย์ ด้วยการจับต้องโลหะอื่นที่ไม่ใช้ตัวถังเครื่องคอมพิวเตอร์ ก่อนจะสัมผัสอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบคอมพิวเตอร์

น้ำและสนิม
น้ำและสนิมเป็นศัตรูตัวร้ายของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิดสนิมที่พบในเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์มักจะเกิดจากการรั่วซึมของแบตเตอรี่บนเมนบอร์ดซึ่งถ้าเกิดปัญหานี้ขึ้น นั่นหมายความว่าท่านจะต้องควักกระเป๋าซื้อเมนบอร์ดตัวใหม่มาทดแทนตัวเก่าที่ต้องทิ้งลงถังขยะสถานเดียว

วิธีแก้ไข
• หลีกเลี่ยงการนำของเหลวทุกชนิดมาวางบนโต๊ะคอมพิวเตอร์ของท่าน
• กรณีการรั่วซึมของแบตเตอรี่ แก้ไขได้โดยการเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่ เมื่อเครื่องของท่านมีอายุการใช้งานได้ประมาณ 1-2 ปี เป็นต้นไป
การบำรุงรักษาตัวเครื่องทั่วๆไป
• เครื่องจ่ายไฟสำรอง (UPS) ถ้ามีงบประมาณเพียงพอควรติดตั้งร่วมกับตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ด้วยเพราะ UPS จะช่วยป้องกันและแก้ปัญหาทางไฟฟ้าไม่ว่าจะเป็นไฟตก ไฟเกิน หรือไฟกระชาก อันเป็นสาเหตุที่จะทำให้เกิดความเสียหายของข้อมูลและชิ้นส่วนอื่นๆ
• การติดตั้งตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ควรติดตั้งในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศหรือถ้ามีไม่มีเครืองปรับอากาศควรเลือกห้องที่ปลอดฝุ่นมากที่สุดและการติดตั้งตัวเครื่อง ควรจากผนังพอสมควรเพื่อการระบายความร้อนที่ดี
• การต่อสาย Cable ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ต่างๆเช่น Printer Modem Fax หรือส่วนอื่นๆจะต้องกระทำเมื่อ power off เท่านั้น
• อย่าปิด - เปิดเครื่องบ่อยๆ เกินความจำเป็น เพราะจะทำให้เกิดความเสียหายแก่โปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่
• ไม่เคลื่อนย้ายเครื่องคอมพิวเตอร์ขณะที่เครื่องทำงานอยู่ เพราะจะทำให้อุปกรณ์บางตัวเกิดความเสียหายได้
• อย่าเปิดฝาเครื่องขณะใช้งานอยู่ ถ้าต้องการเปิดต้อง power off และถอดปลั๊กไฟก่อน
• ควรศึกษาจากคู่มือก่อนหรือการอบรมการใช้งาน Software ก่อนการใช้งาน
• ตัวถังภายนอกของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่เป็นส่วนประกอบของเหล็กกับพลาสติกเมื่อใช้นานๆจะมีฝุ่นและคราบรอยนิ้วมือมาติดทำให้ดูไม่สวยงามและถ้าปล่อยไว้นานๆจะทำความสะอาดยากจึงควรทำความสะอาดบ่อยๆอย่างน้อย1-2เดือนต่อครั้งโดยใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆเช็ดที่ตัวเครื่อง หรือใช้น้ำยาทำความสะอาดเครื่อง คอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ และที่สำคัญคือ ควรใช้ผ้าคลุมเครื่องให้เรียบร้อยหลังเลิกใช้งานทุกครั้งเพื่อป้องกันฝุ่นผงต่างๆ

การบำรุงรักษา Hard Disk
ฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์ที่มีอายุยืนมากยากจะบำรุงรักษาด้วยตัวเอง ผู้ใช้คอมพิวเตอร์จึงควรระมัดระวังไม่ให้เกิดความเสียหายซึ่งควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
• การติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ควรติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์โดยให้ด้านหลังของตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ห่างจากฝาผนังไม่น้อยกว่า 3 นิ้ว เพื่อการระบายความร้อน เป็นอย่างปกติไม่ทำให้เครื่องร้อนได้
• ควรเลือกใช้โตีะทำงานที่แข็งแรงป้องกันการโยกไปมาเพราะทำให้หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์ถูกกระทบกระเทือนได้
• ควรมีการตรวจสอบสถานภาพของ Hard Disk ด้วยโปรแกรม Utility ต่างๆว่ายังสามารถใช้งานได้ครบ 100 % หรือมีส่วนใดของ Hard Disk ที่ใช้งานไม่ได้

การบำรุงรักษา Disk Drive
ช่องอ่านดิสก์เมื่อทำงานไปนานๆหัวอ่านแผ่นดิสก์อาจจะเสื่อมสภาพไปได้ หัวอ่านดิสก์เกิดความสกปรกเน่องจากมีฝุ่นละอองเข้าไปเกาะที่หัวอ่านหรือเกิดจากความสกปรกของแผ่นดิสก์ที่มีฝุ่น หรือคราบไขมันจากมือ ผลที่เกิดขึ้นทำให้การบันทึก หรืออ่านข้อมูลจากแผ่นดิสก์ไม่สามารถดำเนินการได้
การดูแลรักษา Disk Drive ควรปฏิบัติดังนี้
• เลือกใช้แผ่นดิสก์ที่สะอาดคือไม่มีคราบฝุ่น ไขมัน หรือรอยขูดขีดใดๆ
• ใช้น้ำยาล้างหัวอ่านดิสก์ทุกๆเดือน
• หลีกเลี่ยงการใช้แผ่นดิสก์เก่าที่เก็บไว้นานๆ เพราะจะทำให้หัวอ่าน Disk Drive สกปรกได้ง่าย

การบำรุงรักษา Monitor
ในส่วนของจอภาพนั้นอาจเสียหายได้เช่น ภาพอาการเลื่อนไหลภาพล้ม ภาพเต้นหรือไม่มีภาพเลย ซึ่งความเสียหายดังกล่าวจะต้องให้ช่างเท่านั้นเป็นผู้แก้ไขผู้ใช้คอมพิวเคอร์ควรระมัดระวัง โดยปฏิบัติดังนี้
• อย่าให้วัตถุหรือน้ำไปกระทบหน้าจอคอมพิวเตอร์
• ควรเปิดไฟที่จอก่อนที่สวิซไฟที่ CPU เพื่อ boot เครื่อง
• ไม่ควรปิดๆ เปิดๆ เครื่องติดๆกัน เมื่อปิดเครื่องแล้วทิ้งระยะไว้เล็กน้อยก่อนเปิดใหม่
• ควรปรับความสว่างของจอภาพให้เหมาะสมกับสภาพของห้องทำงาน เพราะถ้าสว่างมากเกินไปย่อมทำให้จอภาพอายุสั้นลง
• อย่าเปิดฝาหลัง Monitor ซ่อมเอง เพราะจะเป็นอันตรายจากกระแสไฟฟ้าแรงสูง
• เมื่อมีการเปิดจอภาพทิ้งไว้นานๆ ควรจะมีการเรียกโปรแกมถนอมจอภาพ (Screen Sever) ขึ้นมาทำงานเพื่อยืดอายุการใช้งานของจอภาพ

การบำรุงรักษา Inkjet & Dotmatrix Printer
เครื่องพิมพ์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับแสดงผล รายงาน ของข้อมูลต่างๆทางกระดาษ การที่จะใช้เครื่องพิมพ์ทำงานได้เป็นปกติผู้ใช้คอมพิวเตอร์ควรหมั่นดูแลรักษาดังนี้
• รักษาความสะอาดโดยดูดฝุ่นเศษกระดาษที่ติดอยู่ในเครื่องพิมพ์ทุกเดือนหรือใช้แปรงขนนุ่มปัดฝุ่นเศษกระดาษออกจากเครื่องพิมพ์อย่าใช้แปรงชนิดแข็งเพราะอาจทำให้เครื่องเป็นรอยได้
• ถ้าตัวเครื่องพิมพ์มีความสกปรกอาจ ใช้ผ้านุ่มหรือฟองน้ำชุบน้ำยาทำความสะอาดเครื่องใช้สำนักงานเช็ดถูส่วนที่เปนพลาสติกแต่ต้องระมัดระวังอย่าใช้น้ำเข้าตัวเครื่อง พิมพ์ได้ และควร หลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันหล่อลื่นทุกชนิด ในตัวเครื่องเพราะอาจทำให้ระบบกลไกเสียหายได้
• ก่อนพิมพ์ทุกครั้งควรปรับความแรง ของหัวเข็มให้พอเหมาะกับความหนาของกระดาษ
• ระหว่างพิมพ์ควรระวังหัวพิมพ์จะติดกระดาษ เช่น การพิมพ์ซองจดหมาย หรือกระดาษที่มีความหนาหรือบางเกินไป
• อย่าถอดหรือเสียบสาย Cable ในขณะที่เครื่องพิมพ์ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่
• ไม่ควรพิมพ์กระดาษติดต่อกันนานเกินไปเพราะอาจทำให้หัวอ่านร้อนมากทำให้เครื่องชะงักหยุดพิมพ์กระดาษ
• เมื่อเลิกพิมพ์งานควรนำกระดาษออกจากถาดกระดาษ และช่องนำกระดาษ
• ไม่ควรใช้กระดาษไข(Stencil Paper)แบบธรรมดากับเครื่องพิมพ์ประเภทแบบกระแทก(Dotmatrix Printer)เนื่องจากเศษของกระดาษไขอาจจะไปอุดตันเข็มพิมพ์ อาจทำให้เข็มพิมพ์อาจหักได้ควรใช้กระดาษไขสำหรับเครื่องพิมพ์แทนเพื่อป้องกันการชำรุดของเฟืองที่ใช้หมุนกระดาษ

การบำรุงรักษา Laser Printer
Laser Printer เป็นเครื่องพิมพ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถพิมพ์ภาพได้อย่างคมชัดมากมีความละเอียดสวยงาม แต่ราคาค่อนข้างสูงผู้ใช้คอมพิวเตอร์จึงควรระมัดระวังในการใช้งานแม้ว่าโอกาสจะเสียหายมีน้อยก็ตาม ข้อควรปฏิบัติดังนี้
• การเลือกใช้กระดาษไม่ควรใช้กระดาษ ที่หนาเกินไปจะทำให้กระดาษติดเครื่องพิมพ์ได้
• ควรกรีดกระดาษให้ด ี อย่าให้กระดาษติดกัน เพราะอาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กระดาษติดในตัวเครื่องพิมพ์ได้
• การใช้พิมพ์ Laser Printer พิมพ์ลงในแผ่นใส ก็ต้องเลือกใช้แผ่นใสที่ใช้ถ่ายเอกสารได้เท่านั้นหากใช่แผ่นใสแบบธรรดาซึ่งไม่สามารถทนความร้อนได้อาจจะหลอมละลายติดเครื่องพิมพ์ทำให้เกิดความเสียหาย

การ Defrag ฮาร์ดดิสก์ เพื่อเพิ่มความเร็วให้กับการทำงานของระบบ สำหรับ Windows XP

การ Defrag ฮาร์ดดิสก์ เพื่อเพิ่มความเร็วให้กับการทำงานของระบบ สำหรับ Windows XP

---------------------------------------------------
1. ดับเบิ้ลคลิกที่ My Computer คลิกขวาไดร์ฟที่ต้องการทำ Defragment เลือก Properties
















2. คลิกที่แท็บ Tools จากนั้นคลิกที่ Defragment Now...


















3. คลิกที่ Defragment












4. จากนั้นให้รอ เครื่องจะทำการ Defragment ซึ่งอาจจะใช้เวลานาน


















5.เมื่อเครื่อง Defragment เสร็จเครื่องจะแจ้งให้ทราบถ้าต้องการดูรายละเอียดต่าง ๆ ของการ Defragment ให้คลิกที่ View Report ถ้าไม่ต้องการก็ให้คลิกที่ Close








หมายเหตุ :
• การทำ Defragment ให้ทำการ Disk Cleanup และ Scan Disk ก่อน ถ้าทำไม่ผ่านให้ทำใน Saft Mode

การใช้งาน Scan Disk สำหรับตรวจสอบข้อผิดพลาดของ ฮาร์ดดิสก์. สำหรับ Windows XP

การใช้งาน Scan Disk สำหรับตรวจสอบข้อผิดพลาดของ ฮาร์ดดิสก์ สำหรับ Windows X

---------------------------------------------------

1. ดับเบิ้ลคลิกที่ My Computer คลิกขวาไดร์ฟที่ต้องการทำ Scan Disk เลือก Properties
















2. คลิกที่แท็บ Tools จากนั้นคลิกที่ Check Now…


















3. คลิกเครื่องหมายถูกที่ Scan for and attempt recovery of bad sectors แล้วคลิก Start













4. รอสักครู่เครื่องจะทำการ Scan Disk













5. เมื่อเครื่องทำการ Scan Disk เสร็จก็จะรายงานได้ทราบ ให้คลิก OK








หมายเหตุ :
• ขณะที่ทำการ Scan Disk ไม่ควรเปิดโปรแกรมใด ๆ
• Automatically fix errors เป็นการกำหนดให้ทำการแก้ไขปัญหาที่พบโดยอัตโนมัติ เมื่อพบข้อผิดพลาดขึ้น

การใช้งาน Disk Cleanup สำหรับลบไฟล์ที่ไม่จำเป็นออกจาก ฮาร์ดดิสก์ สำหรับ Windows XP

การใช้งาน Disk Cleanup สำหรับลบไฟล์ที่ไม่จำเป็นออกจาก ฮาร์ดดิสก์ สำหรับ Windows XP

---------------------------------------------------
1. คลิกที่ Start > Program > Accessories > System Tools > Disk Cleanup








2. เลือกไดร์ฟที่ต้องการทำ Disk Cleanup แล้วคลิก OK










3. คลิกเครื่องหมายถูกไฟล์ที่ต้องการลบ แล้วคลิก OK


















4. ยืนยันการลบคลิก Yes








ทำอย่างนี้ในทุก ๆ ไดร์ฟที่ต้องการลบ

การ Defrag ฮาร์ดดิสก์ เพื่อเพิ่มความเร็วให้กับการทำงานของระบบ สำหรับ Windows 9x และ Windows ME

การ Defrag ฮาร์ดดิสก์ เพื่อเพิ่มความเร็วให้กับการทำงานของระบบ

---------------------------------------------------
การทำ Defrag ฮาร์ดดิสก์หรือ Disk Defragmenter ก็คือการทำการจัดเรียงข้อมูลของไฟล์ต่าง ๆ ที่เก็บอยู่ในฮาร์ดดิสก์ ให้มีความต่อเนื่องหรือเรียงเป็นระบบต่อ ๆ กันไป ประโยชน์ที่จะได้รับคือ ความเร็วในการอ่านข้อมูลของไฟล์นั้น จะมีการอ่านข้อมูล ได้เร็วขึ้น ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่นถ้าหากมีไฟล์ที่เก็บอยู่ในฮาร์ดดิสก์ ที่มีการเก็บข้อมูลแบบกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป เมื่อต้องการอ่าน ข้อมูลของไฟล์นั้น หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์ก็จะต้องมีการเคลื่อนย้ายไปมาเพื่อทำการอ่านข้อมูลจบครบ หากเรามีการทำ Defrag ฮาร์ดดิสก์ แล้วจะทำให้การเก็บข้อมูลจะมีความต่อเนื่องกันมากขึ้น เมื่อต้องการอ่านข้อมูลนั้น หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์จะสามารถอ่านได้ โดยไม่ต้องเคลื่อนย้ายหัวอ่านบ่อยหรือมากเกินไป จะทำให้ใช้เวลาในการอ่านได้เร็วขึ้น


ที่จริงแล้ว ยังมีโปรแกรมของบริษัทอื่น ๆ อีกหลายตัวที่สามารถทำการจัดเรียงข้อมูลให้มีความต่อเนื่องกันได้ เช่น Speeddisk ของ Norton และอื่น ๆ อีกมาก แต่ในที่นี้จะขอแนะนำหลักการของการใช้โปรแกรม Disk Defragmenter ที่มีมาให้กับ Windows อยู่แล้ว ไม่ต้องไปค้นหาจากที่อื่นครับ

ข้อแนะนำก่อนใช้โปรแกรม Disk Defragmenter

เพื่อให้การใช้งาน Disk Defragmenter มีประสิทธิภาพมากที่สุด ก่อนการเรียกใช้โปรแกรม Disk Defragmenter ควรจะเรียกโปรแกรม Walign ก่อนเพื่อการจัดเรียงลำดับของไฟล์ที่ใช้งานบ่อย ๆ ให้มาอยู่ในลำดับต้น ๆ ของฮาร์ดดิสก์ครับ โดยที่โปรแกรม Walign จะทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลการใช้งานไฟล์ ที่มีการเรียกใช้บ่อย ๆ ไว้ และนำมาจัดการเรียงลำดับ ให้อยู่ในส่วนแรก ๆ ของฮาร์ดดิสก์ ดังนั้นการที่เราเรียกโปรแกรม Walign ก่อนการทำ Disk Defragmenter จะเป็นการเพิ่มความเร็วของการอ่านข้อมูลได้อีกทางหนึ่ง โปรแกรม Walign จะอยู่ใน Folder C:\WINDOWS\SYSTEM\Walign.exe ครับ เปิดโดยการเข้าไปใน My Computer และเลือกไฟล์












กดดับเบิลคลิกที่ไฟล์ Walign เพื่อเรียกไฟล์ Walign.exe










โปรแกรมจะเริ่มต้นการ Tuning up Application เมื่อเสร็จแล้วจึงทำการ Defrag ต่อไป

นอกจากนี้ สิ่งที่สำคัญมาก ๆ ในการทำ Disk Defrag คือต้องปิดโปรแกรมต่าง ๆ ที่ทำงานอยู่ในขณะนั้นให้หมดก่อน เช่น Screen Saver, Winamp หรือโปรแกรมอื่น ๆ ที่จะต้องทำให้มีการอ่าน-เขียน ฮาร์ดดิสก์ บ่อย ๆ เพราะว่า เมื่อใดก็ตามที่ฮาร์ดดิสก์มีการอ่าน-เขียนข้อมูล จะทำให้โปรแกรม Disk Defragment เริ่มต้นการทำ Defrag ใหม่ทุกครั้ง ทำให้การทำ Defrag ไม่ยอมเสร็จง่าย ๆ หรืออาจจะใช้วิธีเข้า Windows แบบ Safe Mode โดยการกด F8 เมื่อเปิดเครื่องเพื่อเข้าหน้าเมนู และเลือกเข้า Safe Mode แทนก็ได้

การเรียกใช้โปรแกรม Disk Defragmenter
เรียกใช้โปรแกรม Disk Defragmenter โดยการกดเลือกที่ Start Menu เลือกที่ Programs และเลือก Accessories เลือกที่ System Tools และเลือก Disk Defragmenter ตามรูปตัวอย่าง














เลือกที่ Disk Defragmenter เพื่อเรียกใช้โปรแกรม Defrag















เลือกที่ Drive ที่ต้องการทำ Defrag และกด OK เพื่อเริ่มต้นการทำ Defrag หรืออาจจะเลือกที่ Settings... เพื่อทำการตั้งค่าต่าง ๆ ก่อนก็ได้













Rearrange program files... เลือกถ้าต้องการให้มีการจัดเรียงลำดับการเก็บข้อมูลของไฟล์ Check the drive... เลือกถ้าต้องการให้มีการตรวจสอบฮาร์ดดิสก์ก่อนการทำ Defrag This time only เลือกถ้าต้องการให้การตั้งค่าข้างบน มีผลเฉพาะการเรียก Disk Defragmenter ในครั้งนี้เท่านั้น Every time I degragment... เลือกถ้าต้องการเก็บค่าที่ตั้งไว้ให้ใช้ตลอดไปโดยไม่ต้องเข้ามาเลือกใหม่
เมื่อเลือกได้แล้วก็กด OK (แต่ขอแนะนำให้เลือกใช้ค่าที่ตั้งไว้อยู่แล้ว จะดีกว่าครับ)








เมื่อกด OK ก็จะเริ่มต้นการทำ Disk Defragment ซึ่งระยะเวลาที่ใช้ จะค่อนข้างนานมากนะครับ ประมาณ 1-4 ชม.ทีเดียว ดังนั้นก็นาน ๆ ทำสักครั้งก็พอ ไม่ต้องทำบ่อยนัก ถ้าสงสารฮาร์ดดิสก์ที่ต้องมีการทำงานที่หนัก ๆ มากครับ โดยส่วนตัวผมแนะนำว่า ถ้าไม่มีการลงโปรแกรมต่าง ๆ บ่อยนักก็ไม่จำเป็นต้องทำก็ได้ แต่ถ้าหากรู้สึกว่าฮาร์ดดิสก์ทำงานช้าลงไป ก็ลองทำดูสักครั้งครับ

ข้อควรระวังในการทำ Defrag ฮาร์ดดิสก์
ขณะที่กำลังทำการ Defrag หากต้องการยกเลิกการทำงาน จะต้องกดที่ Stop เท่านั้น ห้ามปิดเครื่องหรือกดปุ่ม Reset เป็นอันขาด ไม่เช่นนั้นข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ของคุณอาจจะสูญหายได้ครับ

การใช้งาน Scan Disk สำหรับตรวจสอบข้อผิดพลาดของ ฮาร์ดดิสก์ สำหรับ Windows 9x และ Windows ME

การใช้งาน Scan Disk สำหรับตรวจสอบข้อผิดพลาดของ ฮาร์ดดิสก์

---------------------------------------------------
Scandisk เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับ ทำการตรวจสอบการทำงาน และความบกพร่องของฮาร์ดดิสก์ และระบบไฟล์ของ Windows ในเบื้องต้น เมื่อใช้งาน Windows ไปนาน ๆ และรู้สึกว่าการทำงานต่าง ๆ ของ Windows เริ่มจะมีปัญหา อาจจะใช้โปรแกรม Scandisk เพื่อทำการตรวจสอบ ฮาร์ดดิสก์และระบบไฟล์ต่าง ๆ ของ Windows ได้ รวมทั้งการแก้ไขปัญหาของระบบไฟล์ ถ้าหากการเสียหายนั้นไม่มากจนเกินไป


การเรียกใช้โปรแกรม Scandisk

เรียกใช้โปรแกรม Scandisk โดยการกดเลือกที่ Start Menu เลือกที่ Programs และเลือก Accessories เลือกที่ System Tools และเลือก Scandisk ตามรูปตัวอย่าง















กดเลือกที่ Scandisk เพื่อเริ่มต้นการทำงานของโปรแกรม
















หน้าตาของเมนูการเลือก Scandisk ซึ่งมีรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้
Select the drive(s) คือช่องสำหรับเลือกฮาร์ดดิสก์ ที่ต้องการทำการตรวจสอบ Standard จะเป็นการตรวจสอบเฉพาะระบบไฟล์ต่าง ๆ เท่านั้น Thorough จะเป็นการตรวจสอบระบบไฟล์ต่าง ๆ และทำการทดสอบพื้นที่ใช้งานด้วยว่ามีปัญหาหรือไม่ Automatically fix errors เป็นการกำหนดให้ทำการแก้ไขปัญหาที่พบโดยอัตโนมัติ เมื่อพบข้อผิดพลาดขึ้น
เมื่อเลือกค่าต่าง ๆ ได้เรียบร้อยแล้วก็กดที่ Start เพื่อเริ่มต้นการทำการตรวจสอบฮาร์ดดิสก์ได้เลย ในที่นี้ หากฮาร์ดดิสก์ ไม่ได้มีปัญหาอะไรมากนัก ก็ทำแบบ Standard ก็พอแล้ว แต่ถ้าหากเป็นฮาร์ดดิสก์ที่สงสัยว่าใกล้จะเสีย หรือคิดว่าปัญหาเกิดจาก ฮาร์ดดิสก์แล้ว ให้เลือกที่ Thorough ครับซึ่งจะทำการตรวจสอบพื้นผิวได้ดีกว่า (แต่ก็จะใช้เวลานานด้วย)


















หน้านี้ คือรายงานผลของการตรวจสอบเมื่อสิ้นสุดครับ จะเป็นรายละเอียดต่าง ๆ ของฮาร์ดดิสก์ที่ทำการตรวจสอบ

การเลือกค่าต่าง ๆ ในแบบ Advanced
นอกจากนี้แล้ว ยังสามารถทำการเลือกค่าต่าง ๆ แบบ Advanced ได้ด้วยโดยการกดเลือกที่ปุ่ม Advanced...















รายละเอียดต่าง ๆ ในเมนู Options ซึ่งก็จะสามารถเลือกค่าต่าง ๆ ตามใจชอบได้ แต่ที่จริงก็คงไม่จำเป็นเท่าไรนักหรอกครับ ใช้ตามที่มีตั้งมาให้แบบนี้น่ะแหละดีแล้ว หรือหากใครอยากเปลี่ยนแปลงก็ทดลองได้เลยครับ
สรุปว่า ปกติก็คงไม่ต้องทำการ Scandisk บ่อยนัก แต่ถ้าหากมีความรู้สึกว่า ฮาร์ดดิสก์เริ่มมีการทำงานแบบแปลก ๆ ไปก็ลองเข้ามาทำการตรวจสอบกันดูบ้างสักครั้งก็ดีครับ

การใช้งาน Disk Cleanup สำหรับลบไฟล์ที่ไม่จำเป็นออกจาก ฮาร์ดดิสก์ สำหรับ Windows 9x และ Windows ME

การใช้งาน Disk Cleanup สำหรับลบไฟล์ที่ไม่จำเป็นออกจาก ฮาร์ดดิสก์

---------------------------------------------------
Disk Cleanup เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่มีมาให้ใน Windows ใช้สำหรับการทำความสะอาดฮาร์ดดิสก์ หรือเรียกง่าย ๆ ก็คือใช้สำหรับลบไฟล์ต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็นในการใช้งานทิ้ง เพื่อให้ฮาร์ดดิสก์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ มีเนื้อที่เหลือใช้งานเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นควรที่จะทำการสั่งโปรแกรม Disk Cleanup เป็นประจำ อาจจะสักประมาณสัปดาห์ละครั้ง

การเรียกใช้โปรแกรม Disk Cleanup

เรียกใช้โปรแกรม Disk Cleanup โดยการกดเลือกที่ Start Menu เลือกที่ Programs และเลือก Accessories เลือกที่ System Tools และเลือก Disk Cleanup ตามรูปตัวอย่าง
















กดเลือกที่ Disk Cleanup เพื่อเริ่มต้นการทำงานของโปรแกรม











ครั้งแรก ให้ทำการเลือกฮาร์ดดิสก์ ที่ต้องการทำการ Cleanup ก่อนและกดปุ่ม OK


















หน้าตาของเมนูต่าง ๆ ในโปรแกรม Disk Cleanup ส่วนหลัก ๆ ที่ต้องทำการเลือกคือในช่องของ Files to delete โดยทำการเลือกสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องการจะลบทิ้ง และกดที่ OK เพื่อเริ่มต้นการลบไฟล์ที่ไม่จำเป็นออก








อาจจะมีเมนูการยืนยันการลบอีกครั้งก็กด Yes เพื่อยืนยันการลบไฟล์ที่ไม่จำเป็นทิ้ง รอสักพักก็เป็นอันจบขั้นตอนครับการตั้งให้โปรแกรม Disk Cleanup ทำงานแบบอัตโนมัติ นอกจากการสั่งเรียกโปรแกรม Disk Cleanup ให้ทำงานตามต้องการแล้ว ยังสามารถทำการตั้งโปรแกรมนี้ให้ทำงาน โดยอัตโนมัติ เมื่อฮาร์ดดิสก์ที่ใช้งานอยู่มีพื้นที่เหลือน้อยได้ วิธีการคือเรียกโปรแกรม Disk Cleanup เลือก Drive ที่ต้องการตั้ง และหลังจากนั้น กดเลือกที่ป้ายของ Settings












กดเลือกที่ช่อง If this drive runs low on disk space.... เพื่อกำหนดให้โปรแกรมนี้ทำงานเมื่อพื้นที่ในฮาร์ดดิสก์เหลือน้อย ๆ จากนั้นก็กด OK หลังจากนี้ ถ้าหากฮาร์ดดิสก์ใกล้จะเต็ม โปรแกรมนี้ก็จะเริ่มต้นทำงานทันทีก็พอเป็นแนวทางคร่าว ๆ นะครับ ที่จริงก็ไม่จำเป็นเท่าไรนัก แต่อย่างน้อยก็ดีกว่าการที่เราเข้าไปลบไฟล์ใน Folder ต่าง ๆ โดยตรงซึ่งบางครั้ง การลบไฟล์แบบนั้น อาจจะทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ของ Windows ตามมาก็ได ้